วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม

 ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมหรือพัฒนาโปรแกรม มีขั้นตอนโดยสังเขปดังนี้
        การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ (Problem Analysis and Requirement Analysis)
         การกำหนดและคุณสมบัติของโปรแกรม (Specification)
·                  การออกแบบ (Design)
·                  การเขียนรหัสโปรแกรม (Coding)
·                   การคอมไพล์ (Compilation)
·            การทดสอบการทำงานของโปรแกรม (Testing)
·                    การจัดทำเอกสาร (Documentation)
·            การเชื่อมต่อ (Integration)
·                     การบำรุงรักษา (Maintenance)
ข้อตกลง : ขั้นตอนทั้งหมดข้างต้นเป็นขั้นตอนสำหรับการพัฒนาโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ที่นำไปใช้จริง สำหรับการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นของนักเรียน จะเรียนรู้เพียง 4 ขั้นตอนเท่านั้น ได้แก่ ขั้นวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ ขั้นการออกแบบ ขั้นการเขียนรหัสโปรแกรม และ ขั้นการทดสอบการทำงานของโปรแกรม

1.การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ (Problem Analysis and Requirement Analysis)
            เป็นการแยกแยะรายละเอียดของปัญหาและความต้องการออกเป็นส่วนย่อยๆ ให้ครอบคลุมการทำงานของโปรแกรมที่ต้องการเขียนทั้งหมด เพื่อให้เห็นถึงองค์ประกอบ ความสัมพันธ์ ความต้องการ และแนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกต้องอย่างครบถ้วน
2.การออกแบบ (Design)
            เป็นการออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยการกำหนดขั้นตอน ทิศทาง รูปแบบการทำงานของโปรแกรม ผลลัพธ์ของโปรแกรม วิธีการประมวลผลและสูตรสมการต่างๆ การนำเข้าข้อมูล การกำหนดตัวแปรให้สอดคล้องกับข้อมูล การเลือกใช้โปรแกรมภาษา ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานของโปรแกรมเป็นไปอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากที่สุด การออกแบบสามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยมได้แก่ การเขียนขั้นตอนวิธี (Algorithms) การเขียนผังงาน (Flowcharts) และการเขียนรหัสลำลอง (Pseudo Code) 
3.การเขียนรหัสโปรแกรม (Coding)
            เป็นการเขียนรหัสโปรแกรมลงในโปรแกรมภาษาที่เลือกไว้ ตามวิธีการที่ได้ออกแบบไว้แล้ว โดยใช้คอมพิวเตอร์ที่ทำการติดตั้งโปรแกรมภาษาเอาไว้พร้อมที่จะทำการลงรหัสโปรแกรมและทดสอบความถูกต้องของโปรแกรม
4.การทดสอบการทำงานของโปรแกรม (Testing)
            เป็นการทดสอบผลการทำงานของโปรแกรมว่ามีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพหรือไม่ การทดสอบทำได้โดยการป้อนค่าต่างๆ ตามที่โปรแกรมกำหนด แล้วสังเกตผลลัพธ์ที่ได้ หากพบว่าผลลัพธ์ไม่ถูกต้องก็ย้อนกลับไปแก้ไขรหัสโปรแกรม หากพบว่าไม่มีประสิทธิภาพ เช่น โปรแกรมทำงานช้า โปรแกรมไม่ครอบคลุมความต้องการก็อาจย้อนกลับไปแก้ไขรหัสโปรแกรมหรือออกแบบวิธีการแก้ปัญหาใหม่ สำหรับการทดสอบนั้นจะต้องป้อนทั้งข้อมูลด้านบวก (ข้อมูลที่โปรแกรมต้องการ) และข้อมูลด้านลบ (ข้อมูลที่โปรแกรมไม่ต้องการ)
                   ภาษาโปรแกรม
            ภาษาโปรแกรมแต่ละภาษาจะมีลักษณะหรือรูปแบบการเขียนที่คล้ายๆ กันและแตกต่างกัน การเลือกภาษาโปรแกรมหรือภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาเขียนโปรแกรมนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่นนโยบายของบริษัท, ความเหมาะสมของโปรแกรมกับลักษณะงานที่จะถูกนำไปใช้, การเข้ากันได้กับโปรแกรมอื่น ๆ, หรืออาจเป็นความถนัดของแต่ละคน ภาษาโปรแกรมที่มีแนวโน้มในการนำมาเขียนมักเป็นภาษาที่มีคนที่สามารถเขียนได้ทันที หรือหากมีความจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้ภาษาอื่น เช่นต้องการเน้นประสิทธิภาพในการทำงานของโปรแกรม ก็อาจจำเป็นต้องหานักเขียนโปรแกรมขึ้นมาจำนวนหนึ่งซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในภาษาโปรแกรมที่ต้องการ และต้องมีคอมไพเลอร์ที่รองรับภาษาเหล่านั้นด้วย
            ตัวอย่างโปรแกรมภาษาที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เช่น C++,Visual C#, Visual Basic, Delphi, Java, Java Script, PHP, ASP, Flash Action Script, HTML, XML เป็นต้น

หมายเหตุ : สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียน ครูกำหนดให้นักเรียนใช้โปรแกรมภาษา C# เป็นหลัก
            ภาษาซีชาร์ป (C# Programming Language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุทำงานบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ซึ่งมี Anders Hejlsberg เป็นหัวหน้าโครงการ โดยมีรากฐานมาจากภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอื่นๆ (โดยเฉพาะภาษาเดลไฟและจาวา) โดยปัจจุบันภาษาซีซาร์ปเป็นภาษามาตรฐานรองรับโดย ECMA และ ISO

อ้างอิง
http://computer.bps.in.th/suteerat/step






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น